к
 ͼ : * سкتͼ
 ʼҹ : * سкʼҹ
 
Ӷ辺
   

กรณีที่เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเรียบร้อยแล้ว จะสามารถขึ้นทะเบียนย้อนหลังได้หรือไม่
 
      - กรอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 ต้องเพาะปลูกข้าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม 2557
- เกษตรกรแจ้งว่าได้เพาะปลูกข้าวในช่วงเวลาดังกล่าวและเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเสร็จสิ้นแล้ว แต่จะขอขึ้นทะเบียนเนื่องจากมีสิทธิ์
- คณะกรรมการตรวจสอบพื้นที่จริงระดับหมู่บ้านไม่กล้ารับรองข้อมูล

แนว ทางปฏิบัติ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดเพื่อพิสูจน์สิทธิ์ หรือใช้คณะกรรมการที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว ได้แก่ คณะกรรมการติดตามการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 ระดับจังหวัด, คณะกรรมการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 ระดับหมู่บ้าน หรือ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ พิจารณาในการตรวจสอบการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 หากพบว่า ผลการตรวจสอบข้อมูลเป็นจริง สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/58 ได้
   

การเข้าใช้งานโปรแกรม
 
      

ถาม : สำนักงานเกษตรอำเภอสามารถขอชื่อผู้ใช้งานเพิ่มเติมได้หรือไม่ เพิ่มได้กี่ชื่อ

ตอบ : ขอเพิ่มได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด กรมให้สิทธิ์การเพิ่มผู้ใช้งานให้จังหวัดเรียบร้อยแล้ว
กรมไม่ได้จำกัดจำนวนชื่อผู้ใช้งาน แต่ขอให้จังหวัดดูตามความจำเป็นและความเหมาะสม
สร้างเพิ่มให้สำหรับผู้ที่ต้องเข้าไปบันทึกข้อมูลจริงๆเท่านั้น

ถาม : ตอนลงทะเบียน จะต้องกรอกรหัสผ่านเดิม และรหัสผ่านใหม่ มันคืออะไร ?
ตอบ : รหัสผ่านเดิม คือ รหัสผ่านที่ได้ไปคู่กับชื่อผู้ใช้งาน(กระดาษที่กรมแจกให้)
รหัสผ่านใหม่ คือ รหัสผ่านที่ผู้ใช้งานคิดขึ้นมาเอง เพื่อจะใช้ในการเข้าใช้งานระบบ
เป็นตัวอักษร A-Z หรือ 0-9 ไม่ควรเกิน 8 หลัก จะได้ไม่ลืม
ในช่องยืนยัน ก็ให้ยืนยันรหัสผ่านใหม่ที่คิดขึ้นมาเมื่อกี้ลงไปซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ถามต่อ : อยากจะใส่เป็นรหัสเดิมได้มั้ย ? 
ตอบ : ได้ แต่กรมและคนที่นำรหัสผ่านมาให้คุณก็จะรู้รหัสผ่านของคุณด้วย
ซึ่งหากมีการแก้ไขข้อมูลหรือปัญหาใดๆจนท.ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ
ดังนั้น ขอแนะนำให้เปลี่ยนเป็นรหัสผ่านของตัวเองและเก็บเป็นความลับ

ถาม : เปลี่ยนรหัสผ่านหลังจากที่ลงทะเบียนไปแล้วได้อีกหรือไม่ ?
ตอบ : เปลี่ยนได้ที่เมนู เปลี่ยนรหัสผ่าน 

ถาม : ตอนลงทะเบียนกรอกเลขบัตรผิด ชื่อ-สกุลผิด แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ : อำเภอแจ้งขอแก้ไขที่จังหวัด จังหวัดขอแก้ไขที่เขต เขตขอแก้ไขที่กรม
แก้ได้ทุกหัวข้อยกเว้นรหัสผ่าน และจะไม่แสดงรหัสผ่านให้ผู้ที่มีสิทธิ์แก้ไขเห็น
(เมนูนี้ยังไม่เสร็จ ใช้ได้ประมาณ 7 ก.ค. 57)
สำหรับจังหวัด การแก้ไขเลขบัตรขอให้เป็นกรณีที่กรอกเลขบัตรผิดเท่านั้น
ถ้าเป็นการขอเปลี่ยนเลขบัตรเพื่อเปลี่ยนผู้ใช้งานไปเลย ให้ใช้วิธีปิดการใช้งานชื่อผู้ใช้งานเดิม
แล้วสร้างชื่อผู้ใช้งานใหม่ให้เจ้าหน้าที่คนใหม่
   

ขั้นตอนที่ 1 : การรับแจ้ง/ขึ้นทะเบียน
 
      
ถาม : เกษตรกรขึ้นทะเบียนได้ที่ไหนบ้าง
ตอบ : ขึ้นทะเบียนข้าวได้ตามที่ตั้งแปลงหลักที่ทำกิจกรรมการเกษตร
โดยต้องแจ้งให้ครบทุกแปลงปลูก
สำหรับพืชอื่นที่ยังไม่ต้องตรวจสอบแปลง (ทบก ทั่วไป) ให้ใช้หลักการทะเบียนเกษตรกรเดิม คือ
ขึ้นได้ทั้งที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และที่ตั้งแปลง
หากเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแปลงใหม่ 
ต้องแจ้งให้เกษตรกรติดตามข่าวการตรวจแปลง ณ ที่ตั้งแปลงด้วย
โดยต้องนำหลักฐานเอกสารสิทธิ์ไปด้วยในวันตรวจแปลง

ถาม : วิธีการใช้งานแบบคำร้อง สำหรับเกษตรกรแต่ละประเภท
ตอบ : 
• รายเดิม/แปลงเดิม ยื่นบัตร -> จนท.พิมพ์ลงระบบแสดงข้อมูลให้เกษตรกรยืนยัน 
• รายเดิม/แปลงเดิม ศสท. จะอำนวยความสะดวกโดยทำแบบยืนยัน ลักษณะเดียวกับ ทพศ.เดิมให้ด้วย
• รายเดิม/แปลงใหม่ ใช้แบบ ทบก ให้กรอกเลขบัตรและข้อมูลแปลงใหม่
• รายใหม่/แปลงใหม่ ใช้แบบ ทบก ให้กรอกข้อมูลทั้งหมด
(สมาชิกในครัวเรือน / การเป็นสมาชิกองค์กร / แปลง / ฯลฯ)

ถาม : การใช้งานแบบยืนยัน
ตอบ : นโยบายในการรับขึ้นทะเบียนครั้งนี้ เน้นที่การให้เกษตรกรเดินมาแจ้งขึ้นทะเบียนที่ สนง.กษอ. 
ดังนั้น โปรแกรมจึงทำรองรับไปที่กระบวนการดังกล่าวก่อน คือ เพียงแค่ใส่เลขบัตร แล้วจะแสดงหน้าจอ
ให้เกษตรกรแจ้งยืนยันข้อมูล โดยไม่ต้องเขียนข้อมูลลงในกระดาษ 
แต่กรมได้จัดทำแบบยืนยันรูปแบบใกล้เคียงกับที่เคยใช้ใน ทพศ. เพิ่มให้ 
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานจริง
สามารถเข้าใช้งานได้ที่เมนู ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปี 57/58 >  แบบยืนยันข้อมูลการขึ้นทะเบียน
จากนั้น เลือก หมู่ และตำบล ที่ต้องการ แล้วคลิ้กเลือก ออกแบบยืนยัน
โดยแบบยืนยันจะแสดงแปลงของเกษตรกรที่มีที่ตั้งแปลงอยู่ใน หมู่/ตำบลนั้นๆ 
และแปลงที่อยู่ในหมู่ ตำบล อำเภอ อื่นๆ ด้วย 

ถาม : เกษตรกรขึ้นทะเบียนได้เมื่อใด
ตอบ : เมื่อเกษตรกรปลูกข้าวแล้ว 7 วัน และปลูกในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
(ปลูกในช่วง 1 พ.ค. -31 ต.ค. 57 / ภาคใต้ ปลูกในช่วง 16 มิ.ย. 57 - 28 ก.พ. 58)
หากมีหลายแปลง ต้องปลูกให้ครบทุกแปลงก่อนแล้วจึงจะมาแจ้งข้อมูล
แจ้งได้ครั้งเดียวเท่านั้น

   

ขั้นตอนที่ 2 : การตรวจสอบ
 
      
ถาม : เกษตรกรรายเดิม/แปลงเดิม ที่สามารถพิมพ์แบบติดประกาศ
มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไร
ตอบ : ระยะห่างของการนำรายชื่อออกไปปิดประกาศ  
ให้อยู่ในดุลพินิจของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล 
แนะนำให้นำรายชื่อไปปิดประกาศสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  
เช่น จัดพิมพ์รายชื่อเกษตรกรผู้มาแจ้งขึ้นทะเบียนทุกเย็นวันจันทร์  
นำไปปิดประกาศเช้าวันอังคาร  วันศุกร์ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ระดับหมู่บ้านนำกลับมาให้
แล้วจัดประชุมสรุปผลการปิดประกาศ จัดทำรายชื่อเกษตรกรที่จะต้องตรวจพื้นที่จริงใ
ห้คณะกรรมการตรวจสอบ ระดับหมู่บ้านนำกลับไปตรวจสอบในพื้นที่ต่อไป

ถาม : เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนไว้ในพื้นที่อื่น แต่มีแปลงในพื้นที่ของเรา ใครเป็นคนตรวจแปลง
ตอบ : กรณีเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนไว้ในพื้นที่อื่น(นอกเขตตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ภาค)  
ระบุมีแปลงปลูกในพื้นที่ของตำบล  โดยปรากฏรายชื่อในใบปิดประกาศที่พิมพ์ออกมา (เจ้าของตำบลไม่ได้เป็นผู้รับแจ้งการขึ้นทะเบียน)  
เป็นหน้าที่ของเจ้าของตำบลต้องดำเนินการตรวจพื้นที่ในแปลงเหล่านี้
โดยการนัดหมายกับเกษตรกรเจ้าของแปลงให้มาชี้ที่ตั้งแปลง
และหากพบข้อมูลที่แจ้งถูกต้องให้ผู้ตรวจบันทึกยืนยันในระบบ 

ถาม : การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล ที่กำหนดให้มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะทำงาน ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน  เป็น คณะทำงาน และ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(อกม) เป็น คณะทำงานและเลขานุการอกม นั้น หากผู้ใหญ่บ้านและ อกม คือ บุคคล คนเดียวกัน จะดำเนินการอย่างไร
ตอบ : ให้ปรับคณะทำงาน ดังนี้  ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะทำงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นคณะทำงาน และให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
   

ขั้นตอนที่ 3 : การออกใบรับรอง
 
      
ถาม : รายเดิม/แปลงเดิม ออกใบรับรองได้เลยใช่หรือไม่
ตอบ : หลังติดประกาศ 3 วัน ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ออกใบรับรองได้เลย

ถาม : ใบรับรอง 1 คน ต่อ 1 ใบ ออกทุกแปลง ถ้ายังแจ้งไม่ครบอยากออกใบรับรองก่อน ได้หรือไม่
ตอบ : ได้ แต่ต้องแจ้งให้เกษตรกรเข้าใจว่าแปลงอื่นๆ จะไม่สามารถเพิ่มเติมในใบรับรองได้แล้ว

ถาม : หากมีแปลงหลายแปลง จะออกใบรับรองที่ไหน
ตอบ :  ออกใบรับรองที่ที่ตั้งแปลงที่เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ ทุกแปลงที่เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนต้องผ่านการติดประกาศ หรือ ตรวจสอบแปลงเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
(ในระบบโปรแกรมจะแสดงสถานะแต่ละแปลงที่เกษตรกรแจ้ง ให้อำเภอที่เกษตรกรมาแจ้งขึ้นทะเบียนไว้ทราบสถานะด้วย)

   

ขั้นตอนที่ 4 : การตรวจติดตาม
 
      
ถาม : การตรวจ ติดตาม ร้อยละ 50 มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหรือไม่
ตอบ : ควรเลือกแปลงที่ยังไม่ได้ตรวจในขั้นตอนที่ 2 เพื่อให้เข้าถึงเกษตรกรทุกแปลง
แต่ในแปลงที่เคยตรวจไปในขั้นตอนที่ 2 แล้ว ก็สามารถเลือกซ้ำได้ตามความเหมาะสม
เพราะวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกตรวจ ติดตาม คือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลได้ใกล้ชิดกับเกษตรกร  
สามารถถ่ายทอดความรู้แนวทางลดต้นทุนการผลิตข้าว  
การใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสม  แนะนำการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

ทั้งนี้ หากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล  มีภาระรับผิดชอบหลายตำบล หรือมีจำนวนเกษตรกรเป้าหมายจำนวนมาก  
ให้มอบภารกิจขั้นตอนนี้ให้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเข้าร่วมดำเนินการ

© 2012 กรมส่งเสริมการเกษตร -- Department of Agricultural Extension